วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สาเหตุสำคัญของการปฏิวัติใหญ่ ค.ศ.1789 ของฝรั่งเศส


สาเหตุของการปฏิวัติเกิดจากความความแตกต่างของชนชั้นในสังคม ซึ่งคนรวยจะมีชีวิตอยู่อย่างหรูหรา แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยากจนแสนเข็ญจนต้องพยายามต่อสู้ดิ้นรนด้วยวิถีต่างๆ ความอยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม คนจนเป็นผู้ที่มีหน้าที่และรับภาระหนักหน่วงกว่าคนรวย ประเทศฝรั่งเศสก็เคยเป็นประเทศหนึ่งที่มีลักษณะสังคมเช่นนี้

สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 
1. ปัญหาทางด้านการเมือง
การปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มขึ้นเมื่อ การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ทรงมีอำนาจเป็นล้นพ้นไม่มีขอบเขต และทรงอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมือง หลายครั้งที่พระองค์ไม่ทรงสนพระทัยประชาชนของพระองค์เลย อีกทั้งประเทศฝรั่งเศสเองไม่มีรัฐธรรมนูญทำให้การปกครองเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่ได้รับการคลุ้มครอง จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการจลาจลขึ้นภายหลัง ฝรั่งเศสต้องกลายเป็นประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างมากเนื่องจากการบริหารที่ล้มเหลว 
2. ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ฝรั่งเศสต้องประสบกับปัญหาการฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการสงครามต่างๆ โดยเฉพาะในสงการประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1776-1781 เพื่อสนับสนุนให้ชาวอาณานิคมอเมริกาต่อสู้กับอังกฤษ ด้วยเหตุนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงมีนโยบายเก็บภาษีอากรจากประชาชนจึงสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่สะสมมานานตั้งแต่ พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จนถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ ซึ่งทรงมีพระราชินีพระนามว่าพระนางมารี อังตัวเนตต์ ที่ทรงนิยมใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในพระราชสำนัก การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติทางการเกษตร ราคาอาหารสูงขึ้นไม่สมดุลกับค่าแรงที่ได้รับ และการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้น คือชนชั้นกลาง(พ่อค้า นายทุน) ซึ่งมีส่วนในการปฏิวัติครั้งนี้
3. ปัญหาทางด้านสังคม
ความเหลื่อมทางสังคมซึ่งเป็นสังคมแบบชนชั้น โดยฐานะในสังคมแล้วแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ ชนชั้นอภิสิทธิ์และชนชั้นสามัญชน แต่ในทางปฏิบัติกลับแบ่งออกเป็นสามชนชั้น หรือ 3 ฐานันดร(Stender).
       ฐานันดรที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนามีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
1. นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหรา
2. นักบวชชั้นต่ำ ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
         ฐานันดรที่ 2 คือ ขุนนางและชนชั้นสูง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
1. ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse d’épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
2. ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์มักจะมี ความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
3. ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de province) มีฐานะไม่ดีเท่า ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้มักจะ โจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
     ฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนรวมทั้งพวกชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้าช่างฝีมือและปัญญาชน เป็นต้น มีประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้นฐานันดรที่ 1 คือ พระและนักบวชในคริสต์ศาสนา และฐานันดรที่ 2 คืน ขุนนางและชนชั้นสูง ทั้งสองฐานันดรเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ มีจำนวนประมาณร้อยละ 2ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีชีวิตความเป็นอยู่สะดวกสบายและหรูหรา ไม่ต้องเสียภาษีฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชน ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนและถูกขูดรีดภาษีอย่างหนักการจ่ายเงินค่าเช่าที่ดินและการถูกเกณฑ์ไปรบ รวมทั้งพวกชนชั้นกลาง เช่น พ่อค้า ช่างฝีมือ และปัญญาชน ฯลฯ
4. การรับอิทธิพลทางความคิดของชาวต่างชาติจาการที่ฝรั่งเศสเข้าไปช่วยสหรัฐอเมริกาทำสงครามประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ ทำให้ได้รับแนวความคิดทางด้านเสรีภาพกลับมาด้วย อิทธิพลทางความคิดได้มาจากนักปราชญ์ที่สำคัญคือ Voltaire, Rouseau และ Montesquieu.
เหตุการณ์ปฏิวัติ 
การเปิดประชุมรัฐสภา ที่ไม่ได้เปิดประชุมตั้งแต่ ปี ค.ศ.1614เมื่อรัฐบาลต้องการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจโดยเก็บภาษีอากรที่ดินจากพลเมืองทุกฐานันดร จึงต้องเรียกประชุมรัฐสภา  ที่เรียกว่า "สภาฐานันดรแห่งชาติ " ( Stender samlingen) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของฐานันดรทั้ง 3 ฐานันดร ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1789 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดร ต่อ 1เสียง ซึ่งไม่ยุติธรรม  เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวน 90 % ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภาและวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนื่อกว่า 2 ฐานันดรแรก โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ  1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ ทำให้ตัวแทนฐานันดร 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม และไปตั้งสภาของตนเอง เรียกว่า สมัชชาแห่งชาติ (Nasjonal konventet) ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ปีเดียวกันสภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดร ที่ 1,2 บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย  ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวชและตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ (Grev de Mirabeau)ต่อมาวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 สภาแห่งชาติได้ย้ายไปประชุมที่สนามเทนนิส (Tennishall) และร่วมสาบานว่าจะไม่ยอมแพ้และไม่ยอมแยกจากกันจนกว่าจะได้รับชัยชนะ และต้องมีร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในการปกครองประเทศ
วันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 Desmoulins กล่าวสุนทรพจน์ กระตุ้นให้ชาวปารีสจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้
เหตุการณ์บุกทลายคุกบาสตีล (Bastille) เมื่อมีข่าวว่ารัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เตรียมใช้กำลังทหารเข้าสลายการประชุมสมัชชาแห่งชาติ ประชาชนชาวกรุงปารีสจึงลุกฮือขึ้นจับอาวุธเพื่อสนับสนุนกลุ่มสมัชชาแห่งชาติ และบุกเข้าทำลายคคุกบาสตีล เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789  ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และเป็นสัญลักษณ์แห่งการกดขี่ของการปกครองระบอบเก่า ความสำคัญของการบุกทำลายคุกบาสตีล  ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เพราะกษัตริย์ ขุนนาง และชนชั้นสูง ต้องยอมสระอำนาจให้แก่สมัชชาแห่งชาติ  และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปกครองครั้งนี้
 ผลกระทบจากการปฏิวัติฝรั่งเศส 1789
การปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส กินเวลาในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1789-1799  (พ.ศ. 2332-2342) ในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์  หลังจากสถาปานาระบอบสาธารณรัฐแล้วไม่นาน  มีการแย่งชิงอำนาจรัฐระหว่างกลุ่มชนชั้นปกครองด้วยกันเอง  จนนำมาสู่ ค.ศ. 1799   นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี  และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคลแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียน  ดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ.1799-1803  ก่อนที่นโนเลียน  จะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้งสลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กันแบบสาธารณรัฐจนกระทั่งปัจจุบันฝรั่งเศส ผ่านกระบวนการสร้างระบอบสาธารณรัฐมาถึงสาธารณรัฐที่ 5 (ค.ศ. 1958-  ปัจจุบัน)
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ได้ส่งผลกระทบให้แนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป โดยผ่านการที่ฝรั่งเศสทำสงครามยึดครองประเทศต่างๆในยุโรปในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary War ค.ศ. 1792-1802) และสงครามนโปเลียน (Napoleonic War ค.ศ. 1803-1815) แม้ว่าในท้ายที่สุด ฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้สงครามก็ตาม แต่ประชาชนในประเทศต่างๆ ก็ตื่นตัวต่อแนวคิดของการปฏิวัติฝรั่งเศส นำไปสู่การต่อต้านผู้ปกครองตลอดช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชนนำไปสู่การมีรัฐธรรมนูญเป็นของตนเองของหลายประเทศ ซึ่งแม่แบบให้ชาวตะวันตกร่วมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น